top of page
เค็มบักนัด คืออะไร
เค็มบักนัดเป็นอาหารโบราณคู่เมืองอุบล คำว่าเค็มบักนัด แปลงมาจากคำว่าหมากนัด เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวอีสานที่ใช้เรียกขานผลไม้ เช่น หมากพร้าวคือมะพร้าว และหมากนัดคือสับปะรด โดยใช้ส่วนผสมหลัก คือ เนื้อปลา และสับปะรด แต่เนื่องจากคนอีสานจะเรียก "สับปะรด" ว่า "บักนัด" หรือ "หมากนัด" จึงตั้งชื่ออาหารประเภทนี้ว่า เค็มบักนัด ซึ่งจะนิยมทำกันมากในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลาก ปลาแม่น้ำเยอะ กอปรกับสับปะรดพื้นถิ่นในอีสานจะสุกพร้อมกันพอดี เรียกได้ว่าประจวบเหมาะลงตัวที่ชาวบ้านจะหยิบจับสองส่วนผสมสำคัญนี้มาผสานรวมกัน กลายเป็นของหมักของดีอีสานที่เคยมีรายงานบันทึกไว้ว่า "เคยปรุงตั้งถวายเจ้านาย ในครั้งเสด็จประพาสเมืองอุบลฯ มาแล้ว" เค็มบักนัด เป็นการดองเค็มปลา แต่ไม่ใช่ ปลาร้า หรือ ปลาแดก ของชาวอีสาน เพราะกรรมวิธีทำและวัตถุดิบต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งชนิดของปลาและส่วนผสม ปลาร้าจะไม่มีสับปะรด แต่มีข้าวคั่วหรือรำเป็นส่วนประกอบหลัก มีการทำไว้กินเป็นอาหารทั่วไป ส่วนเค็มบักนัดนั้นจะมีการทำน้อยกว่าในบางท้องที่เท่านั้น
bottom of page